-
Instagramcherrykhemupsorn
video
เวลาที่เราจะช่วยเหลือใครสักคนหรืออะไรสักอย่าง เราวัดกันที่ไหน? วัดกันที่การกระทำว่าเราได้ช่วยจบไปแล้ว หรือผลของการช่วยเหลือนั้น... การลดลงของพื้นที่ป่าไม้ในประเทศไทยมีปัญหาต่อเนื่องมายาวนานจนกระทั่งปัจจุบัน สาเหตุหลักๆ เกิดจากการบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อเป็นพื้นที่ทำกินและการลักลอบตัดไม้ หลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนได้พยายามมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหานี้ ด้วยการปลูกต้นไม้ปลูกป่า แต่ความรู้ความเข้าใจที่ไม่ถูกวิธี หลายครั้งทำให้ความตั้งใจดีเหล่านั้นกลายเป็นความสูญเปล่า ฉันเองก็เคยเป็นหนึ่งในนั้นอยู่บ่อยครั้ง การช่วยกันทำอะไรซักอย่างเพื่อแก้ปัญหาป่าไม้ของประเทศไทยเป็นเรื่องที่ดีแน่นอน แต่การลงแรงช่วยเหลือนั้นควรต้องสัมฤทธิ์ผลด้วย สิ่งแรกที่คนมักนึกถึงทางแก้ปัญหาป่าไม้ที่ลดลง ก็คือการปลูกต้นไม้ทดแทน ฉันเพิ่งได้รับรู้ข้อมูลการปลูกต้นไม้อย่างไรให้ต้นไม้รอด! จากผู้ชำนาญในการดูแลรักษาป่าหลายท่าน ซึ่งฉันพอจะสรุปได้คร่าวๆ ว่าเราควรพิจารณาปัจจัยเบื้องต้นดังต่อไปนี้ 1. พื้นที่บริเวณที่จะไปปลูก สภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ เหมาะกับต้นไม้ชนิดไหน 2. อย่าปลูกเรียงกันเป็นแถวถ้าปลูกบนเขา 3.ใครเป็นคนดูแลต้นไม้ที่ปลูกหลังจากนั้น เพราะต้นไม้ต้องได้รับการดูแลอย่างน้อย 3 เดือน ไม่ว่าจะเป็น การกำจัดวัชพืช การให้น้ำ เป็นต้น 4. ชาวบ้านบริเวณที่ไปปลูกร่วมด้วยกับคุณหรือไม่ เพราะถ้าไม่ ต้นไม้ก็ไม่รอดแน่ๆ 5. มีการจัดเวรยามป้องกันไฟป่า 6. น้ำ มีความสำคัญในการเจริญเติบโตของต้นไม้มาก บริเวณที่ไปปลูกมีระบบจัดการน้ำใช้เพียงพอหรือไม่ น้ำหนึ่งหยดกระเพื่อมเป็นวงได้กว้างแค่ไหน... ช่วยกันนะคะ ความตั้งใจดี การลงมือ ลงเงิน ลงแรงของพวกเราจะได้ไม่สูญเปล่าอีกต่อไป. #เกิดอะไรขึ้นที่น่าน #คนยืนได้ไม้ยืนต้น #phenomeNAN #growingtogether #มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง -
Instagramcherrykhemupsorn
video
ไม่เป็นไร...คุณครูนั้นพูดออกมา เรามีกันและกันนี่ละหนา อยู่ด้วยกัน มีชีวิตพอเพียงก็สุขใจ แต่วันนี้ เด็กๆก็ยังเดียวดาย ทุกความฝันก็ยังต้องดิ้นรน อยากให้ใครซักคนเข้าใจ ว่าชีวิตของเราเป็นอย่างไร โปรดได้มองดูเราให้ดีเสียก่อน ว่าเรากินเรานอนกันอย่างไร จะเข้าใจในส่วนนี้หน่อย ว่าเด็กน้อยนั้นเป็นอย่างไร และโรงเรียนหลังเขา กลับมาภูดอย ยังรอคอยผู้คนเหลียวแล แต่พวกเราก็จะไม่ยอมแพ้ ถึงแม้พรุ่งนี้เป็นอย่างไร จะสู้กันต่อไป............. #เปียงก่อ #น่าน #เกิดอะไรขึ้นที่น่าน #คนยืนได้ไม้ยืนต้น #phenomeNAN #growingtogether #มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง -
Instagramcherrykhemupsorn
จากภาพคือน้ำในแม่น้ำน่านที่เปลี่ยนสีเป็นสีชาไทยตลอดทั้งสาย อันเนื่องมาจากการพังทลายของหน้าดิน จังหวัดน่าน...พื้นที่ที่กำลังมีปัญหาเขาหัวโล้นจากการตัดและเผาป่าอย่างสาหัส เหมือนๆ กันกับอีกหลายๆ จังหวัดในประเทศไทย ใช่...แม่ฉันเป็นคนน่าน คุณคงคิดว่าฉันเองก็ควรจะมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหานี้อยู่แล้วสินะ แต่ถ้าฉันจะบอกกับคุณทุกคนว่า ปัญหาเขาหัวโล้นที่น่านนี้ ไม่ใช่ปัญหาของชาวน่านแค่เพียงกลุ่มเดียว แต่มันคือปัญหาของพวกเราทุกๆคน อย่าส่งกำลังใจให้ฉันเลย เพราะตัวคุณเองก็ต้องการกำลังใจเช่นเดียวกัน กำลังใจเพื่อลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่าง อะไรก็ได้ตามกำลังที่คุณมี ที่ไหนก็ได้ตามแต่ความสะดวกของคุณ อย่าให้ฉันต้องเป็นคนบอกคุณเลยว่าคุณควรทำอะไร เพราะฉันเองก็กำลังคิดถึงสิ่งที่ฉันพอจะทำได้อยู่เช่นกัน... ผลสำรวจทรัพยากรป่าไม้ ปี 2531 พบว่ามีป่าเหลืออยู่เพียงร้อยละ 28 ของพื้นที่ประเทศ หรือประมาณ 90 ล้านไร่ และปี 2528 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศระบุว่าป่าต้นน้ำเหลือเพียง 9 ล้านไร่! เป็นตัวเลขที่น่าตกใจมากเลยใช่มั้ย แต่นั่นเป็นผลสำรวจเมื่อเกือบ 30 ปีมาแล้ว คุณคิดว่าด้วยอากาศที่ร้อนมากและภัยทางธรรมชาติต่างๆที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งอยู่ทุกวันนี้ ตัวเลขของผลสำรวจจะเปลี่ยนแปลงไปน่ากลัวขนาดไหน! น่าเสียดายที่ฉันไม่มีข้อมูลในส่วนนั้นมาบอกเล่าให้คุณฟัง "ป่าต้นน้ำ" มีความสำคัญมาก ที่ทุกวันนี้มีภาวะน้ำท่วมน้ำแล้งถี่ขึ้นและรุนแรงขึ้นมากกว่าเมื่อก่อน เหตุผลหลักๆเลยเกิดจากพื้นที่ป่าต้นน้ำในทุกๆ พื้นที่ลดลงมากจนน่าใจหายเมื่อเกิดพายุฝน ไม่มีต้นไม้รองรับ ฝนตกถึงพื้นก็ชะผิวดินเกิดเป็นน้ำท่วมฉับพลันและการพังทลายของหน้าดินตามมา ไม่มีต้นไม้คอยกักเก็บน้ำ พอถึงหน้าแล้งก็ทำให้มีน้ำใช้ไม่เพียงพอ...ช่วยกันคิดหน่อยเถอะนะ ช่วยกันทำคนละไม้คนละมือ เริ่มกันเลยเถอะ ฉันขอย้ำอีกครั้ง...ก่อนที่มันจะสายเกินไปกว่านี้. #เกิดอะไรขึ้นที่น่าน #คนยืนได้ไม้ยืนต้น #phenomeNAN #growingtogether #มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง -
Instagramcherrykhemupsorn
video
พื้นที่ป่าอนุรักษ์และพื้นที่ทำกินของชุมชน🌳🌳🌳🌳🌳 #ต้นไม้ช่วยให้อุณหภูมิลดลงได้3ถึง5องศา #20องศาณเดือนพฤษภาคม #เกิดอะไรขึ้นมี่น่าน #คนยืนได้ไม้ยืนต้น #phenomeNAN #growingtogether #มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง #จังหวัดน่าน #สวยได้ไม่เท่าครึ่งหนึ่งของที่ตาเห็น -
Instagramcherrykhemupsorn
ที่ที่ฉันยืนอยู่นี้เคยเป็นภูเขาหัวโล้น...นี่คือเรื่องจริง! ฉันได้เดินทางไปหลายหมู่บ้านในพื้นที่สูงของจังหวัดน่าน ได้พบเจอ "ปราชญ์บนดอย" หลายต่อหลายท่าน ที่เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ชีวิตจริงและลงมือทำด้วยความเชื่อความมุ่งมั่น จนช่วยกันพลิกฟื้นพื้นที่เขาหัวโล้นให้กลับกลายเป็นผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ขึ้นมาได้อีกครั้ง ด้วยการทำให้คนบนดอยสร้างรายได้เพื่อเลี้ยงดูตนเองและครอบครัว พร้อมทั้งมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการแบ่งพื้นที่ป่าออกเป็น พื้นที่ป่าอนุรักษ์ ป่าเศรษฐกิจ ป่าใช้สอยและพื้นที่ทำกิน ซึ่งพื้นที่ป่าอนุรักษ์มีมากถึง 60% คนในชุมชนจะช่วยกันดูแล ไม่ว่าจะเป็นการเฝ้าระวังไฟป่า สร้างแนวกันไฟ การสร้างระบบการเผาวัชพืชอย่างมีวัฒนธรรม ช่วยกันสร้างฝายจำนวนมากที่ทำให้มีน้ำพอใช้ภายในชุมชนและบรรเทาปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้ง เฝ้าระวังไม่ให้มีผู้ลักลอบตัดไม้ เหล่านี้เป็นต้น ภาระมากมายขนาดนี้ ถ้าไม่มีความรัก ความผูกพันและเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน...คุณคิดว่ายังไง? ป่าต้นน้ำมีความสำคัญในการหล่อเลี้ยงชีวิต เกษตรกรอย่างพวกเขา ตลอดจนยังช่วยป้องกันน้ำท่วมน้ำแล้งมาจนถึงคนปลายน้ำอย่างพวกเรา ซ้ำยังต้องฝากชีวิตไม่ว่าจะเป็นเรื่องน้ำ อากาศ และปากท้องไว้กับพวกเขาอีกด้วย คุณยังจำเหตุการณ์น้ำท่วมปี '54 กันได้อยู่ใช่มั้ย อย่ารอให้เหตุการณ์ต้องเลวร้ายขนาดนั้นเลย ฉันอยากให้พวกเราทุกคนช่วยกันคิดลงมือทำอะไรซักอย่าง แม้เพียงเล็กน้อยก็ยังดี ฉันยังเชื่อในความมีน้ำใจของคนไทยเสมอ. #เกิดอะไรขึ้นที่น่าน #คนยืนได้ไม้ยืนต้น #phenomeNAN #growingtogether #มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง #บ้านน้ำช้าง #ขุนน่าน #อำเภอเฉลิมพระเกียรติ #จังหวัดน่าน -
-
Instagramcherrykhemupsorn